เราโชคดีแค่ไหน ที่ได้เกิดมาในยุคที่ …

เราโชคดีแค่ไหน ที่ได้เกิดมาในยุคที่ …– โลกกำลังจะเกิด 5 Mega Innovation ในระดับที่ใช้งานได้จริง– มีโอกาสแก้ไขเซลล์ที่เริ่มผิดปกติก่อนจะพัฒนาเป็นมะเร็ง– ได้เห็นหลุมดำ พระอาทิตย์ในระยะใกล้มาก กาแลกซี่มากมาย– ได้เห็นการเปลี่ยนผู้นำระเบียบโลกใหม่ (จีน) (คาดการณ์ปี 2030)– จิตของเรา อาจไม่จำเป็นต้องตายตามร่างกายที่หมดสภาพ แต่ถูก Upload ไปอยู่ใน Server แทน (คาดปี 2045)– มนุษย์มีโอกาสไปอยู่บนดาวอังคาร (ตั้งเป้าในปี 2050) แค่คิดก็ตื่นเต้นแล้ว ไหนจะมีโอกาสการลงทุนมากมายที่จะเกิดขึ้นอีกล่ะ

เราโชคดีแค่ไหน ที่ได้เกิดมาในยุคที่ … Read More »

ARK Invest บริษัทที่ตั้งบนความเชื่อเรื่อง Innovation

“ARKK” ETF ที่เป็นตัวแทน Innovative Investment Idea ของ Port UGF ทำจุดสูงสุดตลอดกาล เมื่อคืนนี้ แต่ไม่ใช่เพียงเรื่องผลตอบแทน ที่ติด Top 3 ของ ETF ทั้งหมด ARK Invest เป็นบริษัท ที่มีเรื่องน่าสนใจ ที่แสดงถึงสัญญาณการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ บริษัทก่อตั้งเมื่อปี 2014 เน้นลงทุนใน Disruptive business เท่านั้น ปัจจุบันมีเพียง 5 กองทุน แต่บริหารเงินลงทุนกว่า 4 แสนล้านบาทโตเรวมากๆ ผู้บริหารเป็นสาวเก่งที่ควบตำแหน่งทั้ง CEO และ CIO และเป็นคนที่ forecast ว่า ราคาหุ้น Tesla จะไปถึง 4,000 เหรียญ (ณ วันที่มันราคา 200 เหรียญ) ตั้งบริษัท บนความเชื่อว่า โอกาสของ

ARK Invest บริษัทที่ตั้งบนความเชื่อเรื่อง Innovation Read More »

ทำไมตลาดหุ้น US ถึงมีเสถียรภาพ ?

ทำไมตลาดหุ้น US ถึงมีเสถียรภาพ ?จริง ๆ จะเรียกว่ามั่นคงก็ดูสวยงามเกิน ผมขอเรียกว่า “ห้ามพัง” จะดีกว่า ด้วยเหตุผลดังนี้ – ชาวอเมริกันลงทุนในตลาดหุ้นทั้งทางตรงและอ้อมกว่า 52% ของจำนวนประชากร (ไทยอยู่ที่แถว ๆ 10%)– ความมั่งคั่งและชีวิตวัยเกษียณถูกผูกไว้กับตลาดหุ้นอย่างมีนัยยะ – บรรยากาศเรื่องการ”ต้องศึกษาการลงทุน” จึงถูกสอดแทรกในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้– เมื่อต้องลงทุนและบางส่วนถูกบังคับลงทุนระยะยาว จึงเกิด “ความมั่นคงของตลาดทุน”– เมื่อตลาดทุนมั่นคง บริษัทจดทะเบียน ก็แข็งแกร่ง สามารถระดม “ทุนที่มีคุณภาพ” ได้ – บริษัทแข่งขันได้ ก็ขยายธุรกิจ ทำกำไรได้ เรียกความมั่นใจ นักลงทุนเพิ่มได้อีก – บริษัทใหม่ ๆ ก็อยากเข้าไประดมทุนมากขึ้น ไม่ต้องใหญ่มาก เช่น Startup ต่างๆ ก็ได้รับโอกาสเร็วขึ้น พัฒนา Product ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น– เมื่อภาคธุรกิจเข้าไปอยู่ในตลาดมากขึ้น ก็สามารถสร้างแรงกดดันให้ รัฐบาลมีทิศทาง เอื้อเฟื้อธุรกิจมากขึ้น เพราะมันเสริมความสามารถด้านการแข่งขันกับนานาประเทศ– นักการเมืองที่เข้ามา ก็ต้องสนใจตลาดทุนมากขึ้น เพราะนั่นคือ การสร้างความมั่งคั่งให้ประชาชน ไม่ต้องแจกเงินเข้าบัญชี – เมื่อการเมือง เศรษฐกิจ มีเสถียรภาพ ประชาชนเห็นอนาคต ก็มั่นใจลงทุนเพิ่มเติมต่อ  อ่านมาถึงตรงนี้ นักลงทุนหลายท่านคงพอเห็นภาพว่า ผู้นำประเทศ (US) ที่ดูแล้ว บ้า ๆ บอ ๆ ทำไมถึงยังอยู่ได้ จะถอดหน้ากาก จะทวีต อะไรก็ได้ ตราบใดที่ทำให้คนรวยขึ้น เพราะตอนเฮียทรัมป์เริ่มบริหาร S&P500 อยู่ที่ 2,100 จุดเอง (+60%)

ทำไมตลาดหุ้น US ถึงมีเสถียรภาพ ? Read More »

Vanguard “King of Passive”

ETF Big Story Vanguard “King of Passive” Startup ที่เกิดมา Disrupt วงการตั้งแต่เมื่อ 40 ปีที่แล้ว  Vanguard เป็นบริษัทให้บริการด้านการลงทุน ครบวงจร โดยเด่นในแง่กองทุนรวม, ETF รวมไปถึงการวางแผนการเงิน เป็นผู้ก่อตั้ง Index Fund กองแรกของโลก มีขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหารกว่า 6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ แต่ที่น่าสนใจคือ Business Model ของ Vanguard มีลักษณะเหมือน Fintech ที่มองลูกค้าสำคัญที่สุด การนำเสนอ Product และ Service ที่เข้าใจง่าย เข้าถึงได้ สุดท้ายมีการใช้ Hook Loop ในการสร้างการเติบโตแบบ Repeatable และ Scalable ที่เกิดก่อนยุคบูมของ Startup หลายสิบปี ผลของการเติบโตธุรกิจในเชิง Passive Investment ผลให้ค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลดีกับนักลงทุน นักวางแผนการเงิน หรือแม้แต่ผู้จัดการกองทุน สามารถออกแบบกลยุทธ์และดำเนินรอยตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการจัดการเงินลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ต้นทุนต่ำ + ลงทุนระยะยาว = โอกาสผลตอบแทนที่สูงขึ้นในแต่ปี) • ก่อตั้งปี 1975 ด้วยแนวความคิดว่า เป็น Asset Management Company ที่มีลูกค้าเป็นเจ้าของ นั่นคือ เพื่อให้แน่ใจว่าทีมงานของบริษัทจะทำทุกวิถีทางเพื่อประโยชน์สูงสุดของกองทุน (Mutual benefit) ไม่ใช่ผู้บริหารกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือผู้ถือหุ้น เป็นผลให้ Vanguard จึงเลือกไม่เข้าระดมทุนในตลาดเหมือนบริษัททั่ว ๆ ไป• Jack Bogle ผู้ก่อตั้ง เสียชีวิตในปี 2019 ด้วยวัย 89 ปี ใช้รูปเรือใบเป็นสัญลักษณ์ เพื่อแสดงเจตนาของการเดินทางสู้เป้าหมายโดยไม่หวั่นลมและคลื่นทะเล• เน้นที่กลยุทธ์ Low Cost เป็นหลัก ส่งผลให้ค่าธรรมเนียมกองทุนโดยเฉลี่ย ลดลงจาก 0.68% ในปี 1975 เหลือ 0.35% ในปี 1990 และต่ำสุดอยู่ที่ 0.10% เมื่อปืที่แล้ว (2019) จะลงไปเหลือ 0% เลยไหม ต้องรอติดตามกัน• ต้นทุนกองทุนต่ำได้ เพราะลดค่าธรรมเนียม รวมถึงค่าคอมขายของฝั่งเซลด้วย (ตั้งแต่เริ่มกอง Bogle ไม่ยอมให้มีค่าธรรมเนียมขาย จึงระดมทุนเปิดกองได้เงินเพียง 11 ล้านเหรียญเท่านั้น จากเป้า 150 ล้านเหรียญ ถือว่าใจเด็ดพอตัว)• ยิ่งค่าธรรมเนียมต่ำ ยิ่งส่งผลให้ผลตอบแทนกองทุนสุทธิถึงลูกค้า (Net Total return) ดีกว่ากองคู่แข่งอื่น ๆ ในระยะยาว • ด้วยกลยุทธ์ “At Cost” ทำให้โครงสร้างเป็นลักษณะ Hook Loop โดยธรรมชาติ ค่าใช้จ่ายต่ำ > ผลตอบแทนดี > ลูกค้าเข้าลงทุน > ค่าใช้จ่าย ยิ่งต่ำ (Economy of scale) > รายได้ส่วนเกิน Cost นำไปลดค่าธรรมเนียมกองทุนให้ลูกค้าอีก > ขนาดกองเติบโตอย่างไม่สิ้นสุด • ปี 2005 สร้าง Website สำหรับนักวางแผนการเงิน เพื่อเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ซึ่งจุดนี้แตกต่างจาก Fintech platform ในปัจจุบัน เพราะ Vanguard มองเห็นถึงความสำคัญของ Human touch • Vanguard ใหญ่สุดในตลาดผู้ให้บริการกองทุนรวม และเป็นอันดับสองในตลาด ETF รองจาก Blackrock ที่เรารู้จักกันดี• เสนอค่าธรรมเนียมต่ำกว่า ให้ลูกค้ารายใหญ่ที่เริ่มต้นลงทุนด้วยมูลค่าที่สูง (Admiral Share) เพราะมองว่า ลูกค้าเหล่านี้ทำให้ค่าใช้จ่ายกองทุนเฉลี่ยโดยรวมลดลง (ทีมขายก็เหนื่อยน้อยลงด้วย)• นอกจาก กองทุน Passive แล้ว กองทุนที่เป็น Active Fund ก็เติบโตได้ดีต่อเนื่อง (ประมาณ 1 trillion USD) กำลังจะเป็นอันดับสอง โดยจุดเด่นที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจาก Vanguard ขายกองทุน Active ด้วยค่า Fee แบบ Passive (ต่ำมาก)• 45% Active Fund ของบริษัทบริหารด้วยทีมงานข้างนอกบริษัท (External Fund manager) ซึ่งมีการวัดผลแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา ในรอบทุก 3 ปี เพื่อให้ได้ผู้บริการกองที่เก่งที่สุดตลอดเวลา• ความน่าเชื่อถือและความมั่นคงในหลักการ เป็นจุดแข็งของ Vanguard อย่างแท้จริง• แม้จะเป็นบริษัทเก่าแก่ แต่ Vanguard ดำเนินธุรกิจด้วยเทคโนโลยี Platform ไม่ต่างจาก Fintech Startup เช่น Betterment หรือ Wealthfront แถมเสริมด้วยบริการแบบผสมระหว่างความสะดวกและความมั่นใจ ผ่านเครือข่าย Financial Adviser จำนวนมากอีกทางหนึ่ง• การใช้เครื่องมือที่มีต้นทุนต่ำ ทำให้ลูกค้าลดต้นทุนของการลงทุนในแต่ละปีได้ และยังเป็นช่วยให้ Financial Planner สามารถแสดงคุณค่าของการให้บริการได้เด่นชัดยิ่งขึ้น เช่น Vanguard มีการทำ Study แล้วพบว่า เพียงนักลงทุนมีผู้แนะนำคช่วยปรับพอร์ต ช่วยแนะนำทัศนคติด้านการลงทุนระยะยาว หรือง่าย ๆ เพียงแค่ Rebalance พอร์ตให้ตามช่วงเวลา ก็สามารถสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มให้ได้ถึง 3.0% ต่อปี• ในอดีต Vanguard จะจัดงานเลี้ยงฉลองทุกครั้งที่ Asset Size เพิ่มขึ้นทุก ๆ 1 billion แต่ปัจจุบัน Asset Size เพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 1.5 billion USD เรียกได้ว่าฉลองกันไม่ทันเลย• กลยุทธ์ของ Vanguard (Lower cost + Low Turnover) ส่งผลในแง่ลบต่อรายได้ของอุตสาหกรรมลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ผู้เล่ารายอื่น ๆ อาจไม่ชอบใจเท่าไหร่ โดยเฉพาะเหล่า Active Fund Manager ที่รุ่งเรื่องในช่วงปี 2000 ต้องปรับตัวตามอย่างช่วยไม่ได้• ในช่วงปีหลัง Vanguard พยายามบุกตลาดมากขึ้น โดย Leverage branding ของ Vanguard โดยให้ trading platform ต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการเทรด ETF ของ Vanguard โดยไม่เสียค่าคอม แน่นอนว่า รายได้ของ Platform provider ลดลงแน่นอน แต่จะคุ้มไหมถ้าแลกมากับกลุ่มลูกค้าที่จะเข้าใช้บริการมากขึ้น (เพราะอยากเทรด ETF ฟรี) ในขณะที่ Vanguard ผู้เป็นเจ้าของ ETF ก็ได้รับรายได้ตามปกติตามขนาด Asset ที่ใหญ่ขึ้น• ยิ่งตลาดผันผวน Asset Size ของ Vanguard ยิ่งโต !! เพราะในยามความเสี่ยงสูง นักลงทุนมีแนวโน้มจะขายออกจาก Active Strategy (เนื่องด้วยค่าธรรมเนียม + ลดความเสี่ยง) มาซื้อ Passive Fund มากกว่า• แต่ขนาดของ Vanguard เริ่มใหญ่จนมีผลกระทบมากขึ้น ปัจจุบัน กองทุนทุกกองรวมกัน ถือหุ้นประมาณ 8% ของตลาดทั้งหมด และมีแนวโน้มจะถือถึง 20% ในอีก 10 ปี ข้างหน้า เนื่องจากถือหุ้นในสัดส่วนที่เยอะ จึงมีสิทธิออกเสียง Vote ในการตัดสินใจของทิศทางบริษัทได้ ตรงนี้เองจึงอาจทำให้เกิดแรงกดดันจากภาคการเมือง สื่อ และผู้ที่ต้องการให้เกิดประโยชน์จากการผ่านมติที่ประชุมของบริษัท ขนาดใหญ่ต่าง ๆ ได้ แม้จะมีการประกาศแนวทางการ Vote Proxy อย่างดีแล้วก็ตาม• การขยายออกไปนอก US Vanguard ก็ต้องทำให้สมฐานะหน่อย โดยผ่านการ Partnership กับ Alibaba โดยทำ Wealth advisory platform ร่วมกับ Ant Financial เพื่อเข้าถึงตลาดคนจีนที่เติบโตร้อนแรงมาก lสอดคล้องกับข้อมูลก่อนหน้าที่ผมเคยได้ถามทีม Ant Financial ได้รับคำตอบที่วิเคราะห์ได้ว่า การหาคนมาช่วยบริหารเงินก็เป็นแนวทางที่รัฐบาลจีนต้องการเหมือนกัน เพื่อกระจายความเสี่ยงกระจุกตัวของ Ant Financial ที่อาจจะใหญ่จนเกินไป หากจะเป็น Monopoly เพียงรายเดียว กล่าวโดยสรุป เรื่องราวของ Vanguard แม้จะเกิดไกลตัว และเป็นแนวโน้มที่ใกล้ตัวนักลงทุนไทยมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันยามที่ข้อมูลข่าวสารเชื่อมต่อถึงกัน เชื่อมโลกการเงินการลงทุนเป็นใบเดียว โลกการลงทุนไม่ง่ายและพอเข้าใจได้เหมือนก่อน ตำราการลงทุนอาจต้องพับเก็บ ผมมองว่า หากหวังผลสัมฤทธิ์ในระยะยาว ต้องคิดให้หนัก ในการเลือกใช้ “เครื่องมือ” และ “กลยุทธ์” การลงทุน เพื่อบริหารเงินแบบไหน ถึงจะเหมาะและพอดีกับ ตัวนักลงทุนเอง 

Vanguard “King of Passive” Read More »

S&P500 หลัง Crisis หน้าตาเปลี่ยนไปอย่างไร ?

อย่างทราบกันกลุ่ม Tech ขายตัวรวดเร็วมาจาก 20% > 30% ของตลาด Sector ที่ถูกเบียด ลดบทบาทลงไปคือ Financial (16% > 10%) ซึ่งลดลงเรื่อยมาตั้งแต่หลัง Financial Crisis 2008 กลุ่ม Energy ก็ลดสัดส่วนลงอย่างมีนัยยะ (7% > 3%!!!) เนื่องจากอัตราการเติบโตที่ยากขึ้นเรื่อยๆ กลุ่ม Telco (โทรคมนาคม สื่อสาร) ถูกยุบหายไปตอนปี 2017 Health Care ทรงตัวที่ 15% เมื่อเทียบกับ SET ที่มีกลุ่มนี้ ~ 5% ผลของการเปลี่ยนแปลง มีดังนี้ สัดส่วนของ Sector ต่างๆ ใน S&P500 ตั้งแต่ช่วง Financial Crisis มีการเปลี่ยนแปลงมีนัยสำคัญ สรุปได้ ดังนี้ ตลาดหุ้น US

S&P500 หลัง Crisis หน้าตาเปลี่ยนไปอย่างไร ? Read More »